ธนาคารธนชาติซึ่งถือหุ้นโดยธนาคาร Nova Scotia เข้าควบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย

ธนาคารธนชาติซึ่งถือหุ้นโดยธนาคาร Nova Scotia เข้าควบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 มิ.ย. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 7,184 view

ธนาคารธนชาติซึ่งถือหุ้นโดยธนาคาร Nova Scotia เข้าควบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย

                                                                                                    จาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา
                                                                 (http://www.thaiembottawa.org/ หรืออีเมล์ [email protected]
                                                                                                                    [email protected] )
 
     สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ได้รายงานเกี่ยวกับบทความเรื่องการควบรวมกิจการของธนาคารธนชาติซึ่งถือหุ้นโดยธนาคาร Nova Scotia กับธนาคารนครหลวงไทยตามที่ปรากฏในเว็บไซต์The Globe and Mail (www.theglobeandmail.com) ของแคนาคา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553  โดยมีสาระสำคัญดังนี้

      1. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2553 ธนาคารธนชาติซึ่งธนาคาร Nova Scotia ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 49
ได้ประกาศควบรวมกิจการกับธนาคารนครหลวงไทย โดยการเข้าไปซื้อหุ้นร้อยละ 48 ส่งผลให้ Nova Scotia เคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าไปในไทยจำนวน 650 ล้านดอลลาร์แคนาดา และทำให้ธนาคารธนชาติจะกลายเป็นธนาคารใหญ่ลำดับ 5 ของไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการสนับสนุนการควบรวมกิจการภายในประเทศ นอกจากนี้ บทความดังกล่าวยังระบุด้วยว่า การควบรวมกิจการดังกล่าวถือเป็น major boost สำหรับธนาคาร Nova Scotia ในเอเชีย และธนาคารฯ สามารถเข้าไปควบคุมกิจการของธนาคารธนชาติและนครหลวงไทย โดยไม่ขัดต่อกฎระเบียบของธนคารแห่งประเทศไทยในส่วนของการถือหุ้นต่างชาติ

        2. นาย Rob Pitfield ผู้อำนวยการฝ่ายกู้ยืมต่างประเทศของธนาคาร Nova Scotia กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นตลาดที่ธนาคารต้องการลงทุนและกล่าวถึงปัจจัยความเสี่ยงทางการเมืองว่าสามารถจัดการได้ รวมทั้งยังมีโอกาสอีกมากสำหรับการให้บริการธนาคารผู้บริโภค (consumer banking services)

        3. ทั้งนี้ การควบรวมกิจการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลแคนาดาที่ต้องการให้ธุรกิจภาคบริการโดยเฉพาะภาคการเงินการธนาคารของประเทศซึ่งมีความเข้มแข็งเป็นตัวนำแคนาดาเข้าไปในตลาดโลกหลังวิกฤตเศรษฐกิจ นอกจากนี้ Conference Board of Canada (สถาบันวิจัยอิสระที่ได้รับความเชื่อถือสูงในวงการรัฐบาลและเอกชนและบุคคลในรัฐบาลแคนาดามักใช้ตัวเลขหรือบทวิเคราะห์ของสถาบันฯไปใช้ในการอ้างอิง) ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง Re-Energizing Canadas International Trade: Strategy for Post-Recession Success  โดยระบุว่า แคนาดาควรรุกตลาดการค้าบริการซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันแคนาดา ส่งออก ธุรกิจบริการเพียงร้อยละ 13  เท่านั้น (ค่ามาตรฐานของประเทศพัฒนาแล้วคือร้อยละ 20) ขณะที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียส่งออกร้อยละ 29 และ 22 ตามลำดับ