กาตาร์เพิ่มการส่งออกก๊าซธรรมชาติ

กาตาร์เพิ่มการส่งออกก๊าซธรรมชาติ

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 พ.ย. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 5,216 view

กาตาร์เพิ่มการส่งออกก๊าซธรรมชาติ

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา
(
http://www.thaiembqatar.com
อีเมล์ [email protected])

 

 (ภาพจาก www.google.com)


             กาตาร์มีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติทางตอนเหนือของประเทศ จำนวนประมาณ 899 ล้านล้านตัน โดยได้มีการพัฒนาการผลิตตั้งแต่ทศวรรษที่ 90 ส่งผลให้กาตาร์เป็นผู้ผลิตและส่งออกก๊าซ LNG รายใหญ่ที่สุดของโลก (77 ล้านตันต่อปี) โดยมีโรงงานผลิตก๊าซดังกล่าว จำนวน 7 แห่ง และมีเรือส่งก๊าซที่กาตาร์ถือกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์และมีกรรมสิทธิ์ร่วมจำนวน 54 ลำ โดยธุรกิจอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติของกาตาร์ขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของการบริโภคก๊าซของโลก ตลาดที่มีความสำคัญคือ ญี่ปุ่น ซึ่งได้หันมาใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติแทนพลังงานนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นไม่ค่อยพึงพอใจกับราคาก๊าซธรรมชาติกาตาร์ ส่งผลให้มีการนำเข้าก๊าซดังกล่าวเพียง 10.15 พันล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2553 น้อยกว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(17.41 พันล้านลูกบาศก์เมตร) ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กกว่า แต่จากการที่ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ทำให้กาตาร์ประกาศเพิ่มการส่งออกก๊าซให้ญี่ปุ่น อีก 4 ล้านตัน เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งอาจส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศ เจราจาเกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนการจัดซื้อก๊าซในอนาคต ขณะที่จีนและอินเดียก็มีแนวโน้มว่าจะสั่งซื้อก๊าซธรรมชาติจากกาตาร์เพิ่มขึ้น 

             นอกเหนือจากการผลิตก๊าซ LNG แล้ว กาตาร์ยังได้ผลิตก๊าซ LPG โดยในปี 2553 สามารถผลิตได้จำนวน 8 ล้านตัน และจะเพิ่มเป็นจำนวน 10 ล้านตันในปี 2554 และคาดว่าจะสามารถเพิ่มเป็น 12 ล้านตันในปี 2558 ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การผลิตก๊าซ LPG เพิ่มขึ้นมาจากความต้องการเพื่อใช้ในครัวเรือนและภาคธุรกิจพาณิชย์ ความเจริญเติบโตของสภาพเศรษฐกิจและมาตรฐานการดำรงชีวิตและการขยายตลาดการส่งออกก๊าซดังกล่าวในจีนและอินเดีย รวมถึงตลาดใหม่อื่นๆ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมปิโตรเคมียังมีความต้องการก๊าซดังกล่าวเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบมากขึ้น ทั้งนี้ ความต้องการและการผลิตก๊าซ LPG ที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการขยายโรงงานผลิตก๊าซดังกล่าวและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องต่อไป ปัจจุบัน กาตาร์มีแผนในการสร้างความหลากหลายในการสร้างรายได้ โดยไม่ยึดติดกลับอุตสาหกรรมพลังงานเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรือการชะลอการผลิตก๊าซธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากการวางแผนปิดโรงงานผลิตก๊าซเป็นการชั่วคราวเพื่อซ่อมแซม