ท่าเรือเจนไน : เส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญระหว่างไทย-อินเดียในอนาคต

ท่าเรือเจนไน : เส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญระหว่างไทย-อินเดียในอนาคต

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 มิ.ย. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 15 พ.ย. 2565

| 4,464 view

                              ท่าเรือเจนไน : เส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญระหว่างไทย-อินเดียในอนาคต 
                                                                                                            จาก สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน
                                                                                                                   (อีเมล์ [email protected] )

     ท่าเรือเมืองเจนไนนับเป็นท่าเรือที่สำคัญอันดับที่ 2 ของอินเดีย รองจากท่าเรือมุมไบและเป็นศูนย์กลาง (hub) สำคัญของท่าเรือฝั่งตะวันออกของอินเดีย ครอบคลุม 3 รัฐทางใต้ของอินเดีย (Tmil Nadu, Karnataka และ Andhra Pradesh) เป็นเส้นทางขนส่งทางเรือสู่เมืองต่างๆ ได้แก่ กัลกัตตา โคชิน โคลัมโบ ธากา สิงคโปร์    ย่างกุ้ง เป็นต้น ขณะนี้ ท่าเรือเจนไนมีแผนที่จะขยายและพัฒนาท่าเรือให้เป็น major container hub ให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับต่อการขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางเรือและจำนวนของเรือโดยสารท่องเที่ยว (Cruise Vessel)  ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับอีกด้วย โดยท่าเรือเจนไนอยู่ระหว่างการก่อสร้าง container Terminal phase 2 เพื่อให้พร้อมรับ container ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันท่าเรือเจนไนมีการขนส่งสินค้าสำคัญๆ หลายประเภท ได้แก่ ถ่านหิน เหล็ก แร่ธาตุ รถยนต์ และอะไหล่สินค้าเครื่องไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

     ดังนั้น ประเทศไทยอาจใช้ความได้เปรียบของสถานที่ตั้งของท่าเรือเจนไนในการส่งสินค้าต่างๆ ผ่าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความได้เปรียบในการลดต้นทุนของการขนส่งสินค้าไทยไปยังรัฐอื่นๆ ในอินเดียจากการมีเส้นทางขนส่งทางรถไฟที่เชื่อมโยงมาถึงท่าเรือ หรือการขนส่งทางรถบรรทุกที่มีถนนที่เชื่อมโยงไปยังรัฐต่างๆทางตะวันตกของอินเดีย รวมทั้งในอนาคตอันใกล้รัฐบาลอินเดียมีแผนการสร้างถนนสายด่วนเชื่อมรัฐทมิฬนาฑู ไปยังเมืองหลวงกรุงนิวเดลีอีกด้วย ซึ่งล้วนแต่เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ระหว่างกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ หากมีการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากเมืองเจนไนไปประเทศไทยโดยผ่านท่าเรือเมืองระนองก็จะช่วยอำนวยความสะดวกการค้าระหว่างกันได้มาก ซึ่งปัจจุบันมีการส่งสินค้าไปท่าเรือระนอง 1 เที่ยว/เดือนซึ่งจัดว่ายังน้อยมาก จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะมีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการด้าน   โลจิสติกส์ของไทยและอินเดียต่อไป