วันที่นำเข้าข้อมูล 13 มิ.ย. 2554
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 15 พ.ย. 2565
ช่องทางในการลงทุนของภาคเอกชนไทยที่ศรีลังกาและมัลดีฟส์
ข้อมูลจากกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
นับเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้วที่ศรีลังกาต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ แต่ปัจจุบันเป็นที่น่ายินดีว่าความขัดแย้งดังกล่าวได้ยุติลงแล้ว และมีกระบวนการฟื้นฟูภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีของภาคเอกชนไทยที่จะหันไปสำรวจถึงความเป็นไปได้สำหรับการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวน การฟื้นฟูดังกล่าว และกระทรวงการต่างประเทศได้เล็งเห็นถึงโอกาสนั้น โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน 4 ธันวาคม 2552) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายรัฐไกร เอกเพชร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะนักธุรกิจไทยภาคการก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เดินทางไปที่ศรีลังกาและมัลดีฟส์ เพื่อสำรวจช่องทางที่จะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการฟื้นฟูประเทศศรีลังกา รวมถึง ใช้โอกาสนี้หาทางขยายความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนกับศรีลังกาและมัลดีฟส์อีกด้วย
ในการเดินทางไปศรีลังกาครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสเข้าหารือกับบุคคลสำคัญของทั้งศรีลังกาและมัลดีฟส์ หลายท่าน อาทิ นายอุดุมา เลบเบ โมฮัมหมัด ฮาลดีน (ปลัดกระทรวงการตั้งถิ่นฐานใหม่และการบรรเทาภัยพิบัติศรีลังกา) พลเรือเอก วสันตา การันนาโกดา (ปลัดกระทรวงการพัฒนาทางหลวงและถนนศรีลังกา) นายเอ เอ็ม ซี กุลาเซเกรา (รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนศรีลังกา หรือ BOI) นายคริสันตา โรเมช ชัยสิงเห (ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ศรีลังกา) ซึ่งทุกท่านเห็นถึงศักยภาพของไทยและช่องทางที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในหลายๆ ด้าน ดังนี้
โครงการสร้างที่พักอาศัยให้กับผู้พลัดถิ่นภายในประเทศศรีลังกา ซึ่งในระยะสั้น รัฐบาลศรีลังกา
จะให้เงินแก่ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศเพื่อใช้ในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และระยะยาว จะมีโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ
โครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนของศรีลังกา เป็นโครงการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจ โดยเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ
การท่องเที่ยว อัญมณีและเครื่องประดับ การแปรรูปอาหารและการก่อสร้าง ฝ่ายศรีลังกาประสงค์
ให้ไทยเข้ามาลงทุนในประเทศเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากการลงทุนของไทยในศรีลังกายังมีสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน โดยเฉพาะสาขาอัญมณีและเครื่องประดับ
การส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-ศรีลังกา โดยฝ่ายศรีลังกาเห็นว่าควรส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาระหว่างกัน นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดในด้านการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพุทธศาสนา ตลอดจนความร่วมมือในเวทีต่างๆระหว่างประเทศด้วย
ขณะที่ในการเดินทางไปมัลดีฟส์ ซึ่งคณะผู้แทนไทยเดินทางไปร่วมงานเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงมาเล และได้มีโอกาสหารือกับบุคคลสำคัญอย่างมากมาย อาทิ ดร. โมฮัมเหม็ด วาฮีด (รอง - ประธานาธิบดีมัลดีฟส์) ดร. อาห์เม็ด อาลี ซาวัต (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมมัลดีฟส์) นายอาห์เหม็ด นาซีม (รัฐมนตรีแห่งรัฐสำหรับกิจการต่างประเทศมัลดีฟส์) และนายมุฮัมเหม็ด เอดิล ซาลีม (รัฐมนตรีแห่งรัฐสำหรับกิจการพัฒนาเศรษฐกิจมัลดีฟส์) โดยเห็นว่า มีหลากหลายประเด็นที่จะสามารถขยายช่องทางและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันได้ ดังนี้
การที่ไทยได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงมาเล โดยมีนายมุฮัมเหม็ด ซอลิห์ เป็นกงสุล
กิตติมศักดิ์ไทยประจำมัลดีฟส์ จะเป็นประโยชน์ต่อเข้าถึงข้อมูลและการได้รับคำแนะนำทางธุรกิจที่ถูกต้องสำหรับนักธุรกิจไทยที่มีความสนใจเข้าไปลงทุนและยังเป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอีกด้วย เนื่องจากนายมุฮัมเหม็ด ซอลิห์ เคยเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก รวมทั้งการมีเครือข่ายกว้างขวางในวงการธุรกิจมัลดีฟส์ โดยได้เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมมัลดีฟส์ และในปัจจุบันยังเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดีมัลดีฟส์อีกด้วย
ฝ่ายมัลดีฟส์ต้องการเพิ่มความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน และประสงค์จะขอความ
ช่วยเหลือจากไทยในการพัฒนาบุคคลากรของมัลดีฟส์ด้านการขุดค้นและการอนุรกษ์วัตถุโบราณ
ช่องทางการลงทุนของไทยในมัลดีฟส์ จะประกอบด้วย (1) ภาคการก่อสร้างที่อยู่อาศัย (2) การ
แปรรูปอาหารทะเล และ (3) การดำเนินธุรกิจอู่แห้งชนิดลอยน้ำ ทั้งนี้ ฝ่ายมัลดีฟส์ได้เสนอให้ไทยพิจารณาก่อตั้งศูนย์แสดงสินค้าไทยในกรุงมาเล และสนับสนุนให้ภาคเอกชนไทยเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารทะเล เนื่องจากไทยเป็นผู้นำเข้าปลารายใหญ่ของมัลดีฟส์อยู่แล้ว
ปัจจุบันรัฐบาลมัลดีฟส์ มีแผนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน เพื่อรองรับความต้องการที่
อยู่ที่เพิ่มมากขึ้น แต่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และประสงค์จะขอรับการสนับสนุนจากต่างชาติ เพื่อเข้าร่วมลงทุน อีกทั้ง
ในภาพรวมถือได้ว่า ศรีลังกาและมัลดีฟมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของไทย อาทิ นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล นโยบายตลาดเสรี แรงงานราคาต่ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ตลาดทั้งสองข้างต้นยังถือได้ว่าเป็นตลาดขนาดเล็ก อีกทั้งประชาชนท้องถิ่นยังมีกำลังซื้อไม่มาก ซึ่งหากนักธุรกิจไทยสนใจไปดำเนินธุรกิจควรเข้าไปลงทุน โดยเน้นการผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการพึ่งพาตลาดภายในทั้งสอง ทั้งนี้ นักธุรกิจไทยอาจคำนึงถึงปัจจัยการที่ศรีลังกามีข้อตกลงการค้าเสรีกับอินเดียและปากีสถาน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่ามาก และจะเป็นประโยชน์ต่อเอกชนไทยสาขาต่างๆ ทั้งการก่อสร้างที่พักอาศัย โครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภค
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)