ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง - คงคา ( MGC )

ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง - คงคา ( MGC )

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 เม.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 44,427 view

ความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขง-คงคา
Mekong – Ganga Cooperation (MGC)

ภูมิหลัง
          MGC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และอินเดีย  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและเชื่อมโยงความร่วมมือในกิจกรรมหลัก 4 สาขา ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว การศึกษา วัฒนธรรม และด้านการคมนาคมขนส่ง ทั้งนี้ แนวคิดการจัดตั้ง MGC เกิดขึ้นในช่วงระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่าง ประเทศของประเทศคู่เจรจา (Post  Ministerial Conference: PMC) โดยแรกเริ่มเรียกว่า กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำคงคา – สุวรรณภูมิ – ลุ่มแม่น้ำโขง (Ganga-Suwannaphumi – Mekong Cooperation) และภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อที่เรียกอยู่ในปัจจุบัน

กลไกการทำงาน

• การดำเนินงานของ MGC จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส และคณะทำงาน โดยกำหนดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีทุกปี back-to-back กับการประชุม AMM

• คณะทำงาน มีทั้งหมด 5 คณะ โดยมอบหมายให้ประเทศสมาชิกรับเป็นประธานคณะทำงานประกอบด้วย

1. คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว                                  ไทย       เป็นประธาน
            2. คณะทำงานด้านการศึกษา                            อินเดีย    เป็นประธาน
            3. คณะทำงานด้านวัฒนธรรม                            กัมพูชา   เป็นประธาน
            4. คณะทำงานด้านการขนส่งและคมนาคม         ลาว       เป็นประธาน
            5. คณะทำงานว่าด้วยแผนปฏิบัติการ                 เวียดนาม เป็นประธาน

• ประเทศสมาชิกดำเนินความร่วมมือตามแผนปฏิบัติการ Hanoi Programme of Action และ Phnom Penh Road Map ซึ่งเป็นแผนงานเร่งรัดการดำเนินโครงการของ MGC

การประชุมระดับรัฐมนตรี*

• การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 43 ที่เวียงจันทน์  (นายอดิศัย โพธารามิก รมต. ประจำ สนร. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน)

• การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 44 ที่กรุงฮานอย (นายประชา คุณะเกษม ทปษ. รมว. กต. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน)

• การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 46 ที่กรุงพนมเปญ  (นายสรจักร เกษมสุวรรณ ผช. รมว. กต.เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน)

• การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 12 ม.ค.50 ที่เมืองเซบู  (นายนิตย์   พิบูลสงคราม รมว. กต.เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน)    

• การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 50 ที่กรุงมะนิลา (นายนิตย์  พิบูลสงคราม รมว. กต.เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน)

*ใน ปี 45 และ 47 ไม่มีการประชุมระดับรัฐมนตรี เพราะการประชุม AMM จัดที่บรูไนและอินโดนีเซีย          **ในการประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 12 ม.ค.50 ที่เมืองเซบู ประเทศไทยได้ส่งมอบความเป็นประธาน MGC ให้แก่ประเทศอินเดีย

ผลการประชุมที่สำคัญ

การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 3 (20 มิ.ย. 46 ณ กรุงพนมเปญ)

1. เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งล่าสุด มีพม่าเป็นประธาน

2. ที่ประชุมรับทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และได้ให้ความเห็นชอบ Phnom Penh Road Map เพื่อเร่งรัดความร่วมมือทั้ง 4 สาขา ให้มีผลเป็นรูปธรรม เนื่องจากการดำเนินงานค่อนข้างล่าช้าและยังไม่มีความคืบหน้า

3. ที่ประชุมได้พิจารณาถึงประเด็นเงินทุนสนับสนุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินโครงการความร่วมมือ และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสของประเทศสมาชิกหารือถึงความเป็นไปได้ใน การที่สมาชิกร่วมสนับสนุนเงินทุนแก่ MGC และรูปแบบการดำเนินความร่วมมือแบบ 2+1 (สมาชิก MGC 2 ประเทศ ร่วมกับประเทศผู้ให้หรือองค์กรระหว่างประเทศ) ตลอดจนพิจารณาเสนอแนวทางการดำเนินโครงการ MGC

4. ที่ประชุมเห็นชอบให้อินเดียเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งต่อไป โดยมีไทยเป็นประธาน

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส MGC ครั้งที่ 4 (25 พ.ค. 48 ณ กรุงนิวเดลี)

1. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 4 จัด back-to-back กับการประชุม ASEAN-India SOM มีนายฐากูร พานิช รองปลัดกระทรวงฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนและประธานการประชุม มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานและเตรียมการสำหรับการ ประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 4

2. ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าในสาขาความร่วมมือต่างๆ และได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการที่ได้เสนอไว้ในแผนปฏิบัติการฮานอยก่อนที่จะ เสนอโครงการใหม่ โดยให้มีการจัดทำ Comprehensive list ของโครงการต่างๆ เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งถัดไป รวมทั้งให้มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และการดำเนินงานต้องมีการกำหนดระยะเวลา เงินทุนสนับสนุน และวิธีการดำเนินโครงการอย่างชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานมีผลเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น เวียดนามเสนอว่า หากมีสมาชิก 2 ประเทศขึ้นไป พร้อมจะดำเนินโครงการก็สามารถทำได้เลย โดยเมื่อประเทศอื่นพร้อมก็อาจเข้าร่วมภายหลัง

3. สมาชิกเห็นควรผลักดันความร่วมมือในสาขาต่างๆ ต่อไป และเสนอให้อินเดียเพิ่มบทบาทมากขึ้น โดยเป็น Prime mover ในกรอบ MGC (คล้ายกับบทบาทนำของไทยใน ACMECS) เพื่อเป็นการหาทางออกให้กับภาวะชะงักงันที่เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการขาดงบประมาณสนับสนุนและประเทศผู้ผลักดัน

-        การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 4 (12 ม.ค. 50 ณ เมืองเซบู)
         ประเทศไทยได้ส่งมอบความเป็นประธาน MGC ให้แก่ประเทศอินเดีย
-       การประชุมระดับรัฐมนตรี MGC ครั้งที่ 5 (1 ส.ค. 50 ณ กรุงมะนิลา)

สาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ ดังนี้

1.     ภาพรวม

     เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศ MGC ทั้ง 6 ประเทศเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีในกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-คงคา (Mekong-Ganga Cooperation - MGC) ซึ่งอินเดียเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในช่วงการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปินส์ อย่างพร้อมเพรียงและแสดงบทบาทอย่างแข็งขัน โดยได้ทบทวนความคืบหน้าของการปฏิบัตติตามแผนปฏิบัติการฮานอย รวมทั้งได้แสดงวิสัยทัศน์และเสนอข้อริเริ่มใหม่ๆ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินความร่วมมือในสาขาต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

    การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกได้พิจารณาต่ออายุแผนปฏิบัติการฮานอย ซึ่งหมดอายุลงในเดือนกรกฎาคม 2550 และติดตามความคืบหน้าความร่วมมือสาขาต่างๆ ตลอดจนเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 โดยอินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในปี 2551 และกล่าวได้ว่าผลการประชุมประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมระดับรัฐมนตรีในกรอบความร่วมมือแม่ โขง-คงคา ครั้งที่ 5

2. ประเด็นสำคัญของการหารือ

    2.1 การท่องเที่ยว ในฐานะที่เป็นประธานคณะทำงานในสาขานี้ ไทยได้เสนอที่จะจัดทำข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดทำ MGC Rate Hotels (โรงแรมสามดาว) ในรูปแบบ CD และ Directories และเสนอการส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศาสนา (Pilgrimage Tourism/Religious Circuit) รวมทั้ง แสดงความพร้อมในการจัดประชุมคณะทำงานท่องเที่ยวในเดือนมกราคม 2551

    2.2 ด้านวัฒนธรรม ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สิ่งทอดั้งเดิมของ เอเชีย (Museum of Traditional Asian Textiles) ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา โดยกัมพูชาได้จัดหาที่ดินจำนวน 1 เฮกตาร์ สำหรับจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ในขณะนี้อินเดียรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรม ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนของการก่อสร้าง และที่ประชุมได้รับทราบด้วยความชื่นชมว่าอินเดียจะเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ จาริกแสวงบุญ โดยเชิญผู้แทนจากประเทศสมาชิกฯ รวม 100 ราย เข้าร่วมโครงการในเดือนกันยายน 2550

           ไทยได้เสนอให้ความสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เช่น กี่ทอผ้า ตัวอย่างผ้า รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญที่จะสนับสนุนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สิ่งทอฯ ดังกล่าว และได้เสนอที่จะร่วมมือกับอินเดียบูรณะและซ่อมแซมสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในประเทศสมาชิกฯ

     2.3 การคมนาคมและขนส่ง ที่ประชุมเห็นพ้องถึงความจำเป็นในการทบทวนเกี่ยวกับการเชื่อมโยงทางคมนาคมใน ภูมิภาค โดยเฉพาะการก่อสร้าง Trilateral Highway ระหว่าง Moreh-Bagan-แม่สอด และศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างเดลีกับฮานอย รวมทั้งความเป็นไปได้ในการสร้าง missing link ระหว่าง Loc Ninh และพนมเปญ

           ไทยได้แจ้งว่าการดำเนินการลาดยางถนนสายเมียวดี-กอกะเร็ก ระยะทาง 18 กิโลเมตร เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนมิถุนายน 2550

            นอกจากนี้ ไทยได้เสนอแนวคิดในการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการคมนาคมขนส่งในกรอบแม่น้ำ โขง-คงคากับประเทศในกรอบความร่วมมืออื่นๆ อาทิ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการ และเศรษฐกิจ (BIMSTEC) รวมทั้งประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยจะจัดทำเป็นข้อเสนอและพร้อมรับความเห็นจากประเทศสมาชิกฯ

      2.4 การศึกษา ที่ประชุมเห็นพ้องกับการเร่งรัดความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับภูมิภาคด้วยการเชื่อมโยงกับศูนย์กลางด้านการศึกษาที่มีคุณภาพในภูมิภาค

             นอกจากนี้ อินเดียได้เสนอที่จะจัดนิทรรศการการศึกษาในประเทศสมาชิกฯ เพื่อให้รับทราบถึงความพร้อมด้านการศึกษาของอินเดียด้วย

             ไทยได้แจ้งที่ประชุมทราบด้วยว่า ยินดีสนับสนุนอินเดียในการฟื้นฟูมหาวิทยาลัยนาลันทาให้เป็นศูนย์กลางการ ศึกษาขั้นอุดมศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ อารยธรรม และพุทธศาสนา โดยไทยพร้อมที่จะเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยนาลันทากับมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย 

สถานะล่าสุด

- ฝ่ายอินเดียขอเลื่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 6 จากเดิมในวันที่ 13 ธันวาคม 2554 ออกไปโดยไม่มีกำหนด

- พิพิธภัณฑ์สิ่งทอฯ ได้รับการก่อสร้างเสร็จสิ้น และอินเดียได้เวียนเอกสารแนวคิดและโครงสร้างการบริหารพิพิธภัณฑ์ฯ ให้ประเทศสมาชิกพิจารณา

                                       ---------------------------------------------------

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กองส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ
กุมภาพันธ์ 2555

 

เอกสารประกอบ

cooperation-20120418-153920-825979.pdf
cooperation-20120418-153931-398201.pdf
cooperation-20120418-153939-693763.pdf