จับประเด็น กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของบราซิล

จับประเด็น กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของบราซิล

วันที่นำเข้าข้อมูล 14 พ.ย. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 2,590 view

จับประเด็น กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของบราซิล

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย
http://thaiembassybrazil.com/
อีเมล์ [email protected], [email protected]

 

(ภาพจาก www.google.com)


             สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย ส่งตรงข้อมูลดีๆ มาไกลจากบราซิล เกี่ยวกับนโยบายการบริหารจัดการกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของบราซิล มาฝากกัน แค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว ลองมาติดตามเนื้อหาไปพร้อมๆ กัน กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติบราซิล (Fundo Soberano do Brasil-FSB) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมการลงทุนในบราซิล (2) สร้างเงินออมให้ประชาชน (3) บรรเทาผลกระทบจากวัฎจักรเศรษฐกิจ (4) อุปถัมภ์โครงการยุทธศาสตร์ในบราซิลและในต่างประเทศ โดยการออกพันธบัตรจำนวน 10,201,373 หน่วย หรือประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ซึ่งต่างจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ ที่ก่อตั้งโดยโอนสินทรัพย์จากกองทุนสำรองระหว่างประเทศ (international reserve) มาใช้ในการก่อตั้งทุน โดยมีหน่วยงาน Brazilian National Treasury-BNT ภายใต้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารกองทุนฯ ซึ่งกฎหมายบราซิลกำหนดให้ FSB สามารถซื้อสินทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การลงทุน (investment grade asset) โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยสองหน่วยงานและงบการเงินของกองทุนฯ จะต้องตีพิมพ์ปีละสองครั้งและทุกหกเดือนเลขาธิการ BNT จะต้องจัดทำรายงานการบริหารจัดการกองทุนโดยมีข้อมูลการดำเนินธุรกรรมในช่วงหกเดือน 

             นอกจากนี้ กระทรวงการคลังบราซิล ได้นำข้อมูลการลงทุนของ FSB ประชาสัมพันธ์ลงเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใสอีกด้วย ด้านกลยุทธ์การบริหารพอร์ตการลงทุน ปัจจุบัน FBS มีการลงทุนภายในประเทศเท่านั้น โดยมีหลักทรัพย์ที่พอร์ตการลงทุนได้แก่ (1) Banco do Brasil 10% (2)  Petrobas ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของบราซิล 73% (3) การลงทุนในตลาดซื้อคืน หรือ repo market 17% ซึ่งการประเมินความสามารถของกองทุน FBS จะใช้อัตราดอกเบี้ย London interbank Offered Rate-LIBOR ระยะเวลาหกเดือนเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการเปรียบเทียบความสามารถของกองทุนในการลงทุนต่างประเทศ และใช้อัตราดอกเบี้ยระยะยาว (Taxa de juros de Longo Prazo-TJLP) ซึ่งกำหนดโดยสภาการเงินของบราซิลเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของกองทุนในการลงทุนภายในประเทศ อย่างไรก็ดี การที่บราซิลก่อตั้ง FSB เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 51 แต่เนื่องจากบราซิลสามารถฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจได้เร็วจึงไม่ได้มีการนำเงินจากกองทุนดังกล่าวมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นาย Marcus กล่าวว่า แม้ปัจจุบันบราซิลจะมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 349 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่บราซิลยังไม่มีแนวคิดในการนำเงินทุนสำรองมาใช้ นโยบายการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของบราซิลอาจเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะกลยุทธ์แบบบราซิลในการระดมทุนเพื่อใช้ในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศแทนการใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดี ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการจัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่สำคัญ ก็คงอยู่ที่การกำกับดูแลกิจการที่ดีนั่นเอง