โอกาสการขยายตลาดสินค้าไทยในตลาดเบลเยียม

โอกาสการขยายตลาดสินค้าไทยในตลาดเบลเยียม

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 มิ.ย. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,470 view

โอกาสการขยายตลาดสินค้าไทยในตลาดเบลเยียม
                                                  

                                               โดย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ และคณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรป
                                                                  (http://www.thaieurope.net/ อีเมล์ [email protected])

     สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ได้รายงานผลการเข้าเยี่ยมชมและพบหารือกับผู้แทน บริษัท King Freeze and King Transport  ของคณะผู้แทนสถานทูต เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2553  โดยรายงาน ดังกล่าวมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการไทย ดังนี้

     1. บริษัท King Freeze and King Transport ประกอบธุรกิจด้านการเก็บสินค้า
(warehouse) และการให้บริการโลจิสติกส์ สำหรับสินค้าอาหารของเบลเยียม ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1993   ตั้งอยู่ที่เมือง Grace - Hollogne และมีโรงเก็บสินค้าอีกแห่งหนึ่งที่เมือง Hoeselt ใกล้เมือง Liege
ปัจจุบันถือเป็นศูนย์โลจิสติกส์สำคัญแห่งหนึ่งในยุโรปตะวันตก ซึ่งบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารหรือ CPF ของไทยก็ใช้บริการของทางบริษัท เพื่อกระจายสินค้าของตนสู่ตลาดเบเนลักซ์ 

     2. บริษัทฯ มีธุรกิจหลักอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ การให้บริการขนส่งแบบ Distribution
Centre และการให้บริการเก็บสินค้าสำหรับอาหารแช่แข็งและแช่เย็น ซึ่งได้รับการรับรองในเรื่องคุณภาพจาก ISO 9001 และมาตรฐานคุณภาพ HACCP โดยมีรายละเอียดของแต่ละธุรกิจ ดังนี้ 
     2.1 ธุรกิจการให้บริการขนส่งแบบ Distribution Centre  ดำเนินการภายใต้ชื่อ
King Transport โดยใช้ระบบขนส่งและกระจายสินค้าด้วยรถบรรทุก 25 คัน สามารถขนส่งได้ทั้งสินค้าแช่เยือกแข็งและสินค้าแช่เย็น และจัดรถบรรทุกสำรองอีก 2 คัน เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าได้ตลอดเวลาในกรณีที่มีคำสั่งซื้อฉุกเฉิน ส่วนเส้นทางขนส่งจะครอบคลุมเขตเบเนลักซ์และฝรั่งเศสตอนเหนือ นอกจากนี้ ยังมีเครือ- ข่ายกับบริษัทขนส่งอื่นๆ ทั่วยุโรป ทำให้สามารถฝากสินค้าไปส่งต่อยังประเทศอื่นๆ ที่สำคัญได้
     2.2  ธุรกิจการให้บริการเก็บสินค้า (warehouse) ดำเนินการโดยใช้ชื่อว่า
King Freeze โดยบริษัทฯ มีห้องเย็นเก็บสินค้าที่มีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี สามารถรองรับได้ทั้งอาหารแช่เยือกแข็ง (deep frozen) ด้วยความจุ 16,000 pallets และอาหารแช่เย็น (chilled) ด้วยความจุ 2,000 pallets นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับใบรับรองจากบริษัท Integra และบริษัท certification and inspection body ให้เป็นผู้ที่สามารถเก็บสินค้าอาหาร organic ได้อีกด้วย

     3. นอกจากสองธุรกิจหลักข้างต้นแล้ว บริษัทฯ ยังให้บริการอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มมูลค่า
ให้แก่สินค้า อาทิ การติดฉลากใหม่ (re-labeling) การบรรจุหีบห่อใหม่ (re-packaging) รวมถึงการแยกและคัดเลือกบรรจุตามคำสั่ง (order-picking) ฯลฯ ในส่วนของการนำเข้าสินค้านั้น ทางบริษัทฯ มีเครือข่ายกับ บริษัทผู้แทนที่ให้บริการจัดการด้านพิธีศุลกากรที่ท่าเรือ Antwerp ของเบลเยียม จึงสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลียร์สินค้าออกจากทางเรือได้อีกด้วย

     4. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF ซึ่งเป็นบริษัทไทยที่ใช้บริการจากบริษัท King Freeze and King Transport ในการกระจายสินค้าอาหารสู่ตลาดเบเนลักซ์ ได้กรุณาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอกาสการขยายสินค้าอาหารไทยในยุโรป ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยรายอื่นๆ ดังนี้
     4.1 นอกจากวิธีการใช้ผู้นำเข้าต่างชาติหรือการส่งสินค้าไทยไปขายโดยใช้
การตกลงราคาแบบสินค้าที่ส่งมอบ ณ ท่าเรือ (Free on Board :FOB)  เหมือนที่ผ่านมาแล้ว ผู้ประกอบการไทยยังสามารถเลือกใช้วิธีการแบบ การจ้าง trading agent  ซึ่งหมายถึง การสรรหาคนที่สามารถเป็นตัวกลางในการหาลูกค้าและประสานงานเรื่องสั่งสินค้ากับบริษัทแม่ที่ไทย โดยใช้ประโยชน์จากความพร้อม
ของระบบจัดการโลจิสติกส์ของบริษัทเอกชนที่มีอยู่ในยุโรป ซึ่งจะมีการจัดส่งสินค้าแบบ door-to-door เช่นเดียวกับบริการของบริษัท Transport and King Freeze ในการสั่งสินค้ามาเก็บและกระจายไปยังลูกค้า รวมทั้ง ยังอาจพิจารณาช่วยอำนวยความสะดวกหากใช้บริการของบริษัทฯ ได้แก่ ให้ใช้พื้นที่ของบริษัทใน
การจัดตั้งสำนักงานชั่วคราว เป็นต้น
     4.2 นอกจากนี้ รัฐบาลภูมิภาควาลลูนของเบลเยียม (ภูมิภาคซึ่งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเมือง Liege ซึ่งบริษัทฯ ตั้งอยู่) มีมาตรการในการจูงใจนักลงทุนที่น่าสนใจมาก โดยเอกชน สามารถขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จาก The Wallonia Foreign Trade and Investment Agency (AWEX) ได้ เว็บไซต์คือ (http://www.sectors.wallonia-export.be/en/index.asp) และสามารถค้นหารายชื่อบริษัทโลจิสติกส์อื่นๆ ในยุโรป นอกเหนือจากบริษัท King Freeze and King Transport ซึ่งได้รับการรับรองสถานะเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาต (Authorized Economic Operator: AEO) แล้วจากเว็บไซต์ http://news.thaieurope.net/content/view/3555/213/ นอกจากนี้ ผู้แทนบริษัท CPF ยังแจ้งว่า เดิมที่บริษัทฯ นำเข้าสินค้าผ่านทางท่าเรือ Rotterdam ของเนเธอร์แลนด์ แต่ต่อมา ได้เปลี่ยนนำเข้าจากท่าเรือ Antwerp ของเบลเยียมแทนและพบว่า ค่าใช้จ่าย ระยะทาง และประสิทธิภาพของทั้งสองท่าเรือไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่เรื่องการตรวจสอบสุขอนามัยพืชและสัตว์ของเบลเยียมจะมีความยืดหยุ่นกว่าเนเธอร์แลนด์มาก

      ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลู่ทางการค้า การลงทุน กฏระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรป
ได้ที่ (http://www.thaieurope.net/) หรือติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ที่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์อีเมล์ [email protected])