วันที่นำเข้าข้อมูล 11 เม.ย. 2555
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ
อีเมล์ [email protected]
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ ถึงแนวโน้มของตลาดยางธรรมชาติในอินเดียซึ่งอาจส่งผลดีกับผู้ผลิตยางธรรมชาติ ของไทย เนื่องจากสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ (ATMA : Automotive Tyre Manufacturers’ Association) ของอินเดียได้เรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียพิจารณายกเว้นการเก็บภาษีอากรขาเข้า สำหรับยางธรรมชาติเพื่อลดภาระต้นทุนการผลิตยางรถยนต์ ประกอบกับการกำหนดโควตาการนำเข้ายางธรรมชาติอยู่ที่ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน ต่อปี
การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ในอินเดียเมื่อปีที่ผ่านมาโดยมียอด จำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง ๑.๙๕ ล้านคัน นับเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งกระตุ้นความต้องใช้ยางธรรมชาติของอินเดีย ในขณะที่ยางธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องตลาดขณะนี้มีราคาสูงมาก เนื่องจากการผลิตในประเทศที่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคและยางธรรมชาติที่นำเข้า จากต่างประเทศมีราคาสูง อันสืบเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินรูปีขณะนี้ ATMA จึง หวังว่า มาตรการยกเว้นการเก็บภาษีอย่างมีเงื่อนไขดังกล่าว จะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตยางรถยนต์ภายในประเทศได้ โดยพิจารณาจากการคาดการณ์ของคณะกรรมการยางของอินเดีย (Indian Rubber Board) ซึ่งระบุว่า ภายในปี ๒๕๕๕ ตลาดอินเดียยังต้องการยางธรรมชาติเพิ่มอีกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ตัน นอกจากนี้ ATMA เรียกร้องให้รัฐบาลยกเว้นอากรขาเข้าสำหรัวัตถุดิบประเภทยางสังเคราะห์ที่ไม่ มีการผลิต ในประเทศอินเดีย ได้แก่ ยางบิวไทล์ (Butyl Rubber, IIR) ยางสไตรีบิวตาไดอีน (Styrene-Butadiene Rubber, SBR) ยาง EPDM (Ethylene-propylene Diene Rubber) และ Polyester Tyre Cord ด้วย
อนึ่ง คาดว่า ผลการตัดสินใจของรัฐบาลอินเดียเรื่องการยกเว้นการเก็บภาษีและกำหนดโควตานำ เข้าสินค้ายางธรรมชาติ ตลอดจนการยกเว้นอากรขาเข้าสินค้ายางบางประเภท น่าจะเป็นที่ทราบโดยทั่วกัน ภายหลังการประกาศงบประมาณปี ค.ศ. ๒๐๑๒ – ๒๐๑๓ โดยเชื่อได้ว่า รัฐบาลอินเดียจะนำข้อเรียกร้องของสมาคมผู้ปลูกยางพาราแห่งอินเดีย (India Rubber Growers’ Association) ซึ่งคัดค้านข้อเสนอการยกเว้นการเก็บภาษีของ ATMA เข้ามาพิจารณาด้วย
เรื่อง นี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับภาคเอกชนไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติ รายใหญ่ของโลกหากจะจับตาความเคลื่อนไหวของเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ เห็นว่า กลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีที่สุดสำหรับภาคเอกชนไทยในขณะนี้ น่าจะได้แก่การพบปะและสร้างเครือข่ายกับผู้ นำเข้ายางธรรมชาติของอินเดีย เพื่อเตรียมการสำหรับการบุกและช่วงชิงตลาดอินเดียได้ทันการ อันจะเป็นผลดีต่อการเพิ่มปริมาณการส่งออกยางแผ่นรมควันและการช่วงชิงตลาดส่ง ออกยางแท่งจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้นำการส่งออกเข้าสู่ตลาดอินเดียในขณะนี้
กระทรวงการต่างประเทศ และสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองมุมไบ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลเชิงลึกด้านการส่งออกในลักษณะนี้ จะมีส่วนช่วยให้ประตูการค้าไทยสู่ตลาดโลกเปิดกว้างยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ สำหรับการประกอบธุรกิจภาคเอกชนไทยในต่างประเทสได้ไม่มากก็น้อย
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)