ภาพรวมเศรษฐกิจเขตคันไซในญี่ปุ่นปี 2556

ภาพรวมเศรษฐกิจเขตคันไซในญี่ปุ่นปี 2556

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 ส.ค. 2556

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 6,372 view

                                          

 

                                                               สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา
                                                               กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ   กระทรวงการต่างประเทศ
                                                               อีเมล์ [email protected] หรือ rctg – [email protected]
                                                               หรือ [email protected]

            ภาพรวมเศรษฐกิจเขตคันไซในญี่ปุ่น จากการประชุม Kansai Consulate Forum ครั้งที่ 9 ภายใต้หัวข้อ “The Growth Strategy and Recent Economic Trend of Japan and Kansai” ที่โรงแรม Imperial Osaka พบว่าเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวในปี 2556 ดังนี้  
            ด้านการผลิต อุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนเมษายน 2556 ได้แก่    โซล่าเซลล์ รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และวัสดุก่อสร้าง
            ด้านการลงทุน ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2556 ลดลงร้อยละ 12.5 การลงทุนในประเทศเน้นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการลงทุนเพื่อประหยัดแรงงาน / พลังงาน
            ด้านการบริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เช่น อัญมณีเครื่องประดับ นาฬิกา และการบริการด้านการท่องเที่ยว
            ด้านการค้าและการส่งออก สำหรับการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2556 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า พลังงานธรรมชาติ และเหล็ก ส่วนการนำเข้า มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากเดือนพฤษภาคม 2556
            สำหรับปัจจัยอื่นที่ทำให้เศรษฐกิจเขตคันไซในประเทศญี่ปุ่นประสบกับภาวะยากลำบาก ได้แก่ การแข็งค่าของเงินเยน สภาพเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกที่หดตัว และการหดตัวของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า
            ส่วนปริมาณความต้องการสินค้าหรืออุปสงค์ (demand) ภายหลังการฟื้นตัวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจคันไซเพียงเล็กน้อย
            นอกจากนี้ยังมีการมุ่งเน้นการส่งออกสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น ได้แก่ ผลไม้ ชาเขียว และเนื้อวัว ดังนี้
            ผลไม้ที่มีการส่งออกเป็นอับดับ 1 ได้แก่  แอปเปิ้ล โดยส่งไปจำหน่ายยังฮ่องกงและไต้หวัน สำหรับผลไม้ในเขตคันไซที่ขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ คือ ลูกพลับ ส้มแมนดาริน และลูกท้อ โดยปลูกกันเป็นหลักๆ ที่จังหวัดวากายามา
            ส่วนชาเขียว ได้แก่ Omicha จังหวัดชิกะ Ujicha จังหวัดเกียวโต Tanbacha จังหวัด   เฮียวโกะ Hamatocha จังหวัดนารา และ Kawazoecha จังหวัดวากายามา
            สำหรบเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อวัวที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพของเขตคันไซ ได้แก่ Omi Beef จังหวัดชิกะ และ Kobe Beef จังหวัดเฮียวโกะ
            สุดท้าย คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศญี่ปุ่น มีการวางแผนงานในด้านต่างๆ ดังนี้
            ประการแรก คือ การปรับปรุงท่าเทียบเรือเพื่อให้รองรับเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
            ประการที่สอง คือ การบูรณาการคลังสินค้าในเขตคันไซ
            ประการสุดท้าย คือ กาบริหารจัดการท่าเรือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการและปรับปรุงขั้นตอนให้เป็นแบบ  one – stop desk