Kazakhstan: Investment & Trade Opportunities at the Heart of Central Asia

Kazakhstan: Investment & Trade Opportunities at the Heart of Central Asia

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 ม.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 เม.ย. 2567

| 83 view

1. ประเด็นหรือเรื่องในการเปิดโอกาส

           เมื่อวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 13.15 – 17.00 น. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถานประจำประเทศไทย ภาคีเครือข่าย ร่วมกับสถาบันเอเชียศึกษาจัดงานสัมมนา Kazakhstan: Investment & Trade Opportunities at the Heart of Central Asia ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ (ถ.ศรีอยุธยา)

           โดยคาซัคสถานนับว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ (strategic location) ใจกลางภูมิภาคเอเชียกลาง เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค และยังสามารถส่งต่อไปยังรัสเซีย จีน และภูมิภาคตะวันออกกลาง

2. ข้อมูลผู้มีส่วนร่วม

        กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านมาให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนมุมมอง เกี่ยวกับประเทศคาซัคสถาน โดยเฉพาะโอกาสการลงทุน & การค้า สาขาเกษตรกรรม อาหาร และการท่องเที่ยวซึ่งเป็นจุดแข็งของไทย ซึ่งคาซัคสถานยังขาดและมีความต้องการ โดยมีภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมประมาณ ๖๐ ราย อาทิ โรงพยาบาลพญาไท
Thai Union Group PCL. Rhenus Logistics  PTTOR ก่อนปิดท้ายด้วยโอกาสการสร้างเครือข่ายภายในงาน 

3. ผลจากการมีส่วนร่วม

         ในงานสัมมนาผู้เข้าร่วมได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพทางธุรกิจการค้า มาตรการส่งเสริมการลงทุน และเส้นทางการขนส่งสินค้า (Logistics) ในคาซัคสถาน โดยผู้เเทนจาก Kazakh Invest สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถานประจำประเทศไทย เเละ บ.Rhenus Logistics ตลอดจนได้รับฟังมุมมองจากผู้ร่วมเสวนาคนไทย ได้เเก่ อาจารย์จากสถาบันเอเชียศึกษา เเละผู้ประกอบการที่เคยศึกษาเเละสำรวจตลาดที่คาซัคสถานหรือมีการประกอบธุรกิจอยู่เเล้ว

           จากการจัดเสวนาพบว่าผู้ประกอบการไม่ค่อยรู้จักคาซัคสถานในฐานะตลาดใหม่ งานเสวนาครั้งนี้จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีความสนใจในตลาดคาซัคสถานมากขึ้น เริ่มมีการหารือธุรกิจกันมากขึ้นแต่พบว่ายังมีความไม่คุ้นเคย ความเข้าใจที่จำกัด และความไว้เนื้อเชื่อใจที่ยังไม่มาก ดังนั้นภาครัฐจึงมีหน้าที่สำคัญที่ต้องส่งเสริมการมีปฎิสัมพันธ์ระดับประชาชนและช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสทำความรู้จักคู่ค้าที่มีศักยภาพให้กับภาคเอกชน โดยอาจเริ่มจากการค้าและการท่องเที่ยวก่อนจะนำไปสู่การลงทุนในอนาคต

4. การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาดำเนินการ

             ผลจากการสัมมนาที่ได้เพิ่มโอกาสในการพูดคุยแลกเปลี่ยนและรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าและการลงทุนในคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 21-25 พฤษภาคม 2567 นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้นำคณะผู้ประกอบการไทยเยือนคาซัคสถาน โดยมีกลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร กลุ่มธุรกิจและท่องเที่ยว/สุขภาพ และภาคการศึกษา 13 รายเข้าร่วม โดยมีกิจกรรมแยกตามรายสาขาธุรกิจและได้ใช้ข้อมูลจากการสัมมนาในการพิจารณาหาผู้ประกอบการคาซัคสถานที่มีศักยภาพและเหมาะสม

นอกจากนี้ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้แก่

1.การจัดทำความตกลงทวิภาคีระหว่างไทย-คาซัคสถาน เช่น การท่องเที่ยว  การเกษตร การยกเว้นการตรวจตราลงหนังสือเดินทาง

2.การรวมกลุ่มธุรกิจไทยในการส่งออกไปคาซัคสถาน

3.การถ่ายทอดโอกาสทางธุรกิจที่เกี่ยวกับคาซัคสถานผ่าน globthailand.com

4.รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถาน เยือนไทยช่วง 22-26 เมษายน 2567

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ