เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2568 นายดุสิต เมนะพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - สาธารณรัฐเกาหลี (Mekong - Republic of Korea Cooperation: Mekong - ROK) ครั้งที่ 13 ในห้วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 58 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศสมาชิกได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) Mekong - ROK ค.ศ. 2021 - 2025 และร่วมกันวางแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ ค.ศ. 2026 - 2030 โดยได้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันผลักดันความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ขณะที่ไทยเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือในประเด็นความท้าทายร่วมที่เร่งด่วนของอนุภูมิภาค ได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามพรมแดน รวมถึงการจัดการกับปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ (2) การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในแม่น้ำ และ (3) การแก้ไขปัญหาฝุ่นและหมอกควัน/มลพิษข้ามพรมแดน
นอกจากนี้ ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นที่ไทยและสาธารณรัฐเกาหลีสามารถแสวงหาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ระหว่างกัน โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนประเทศลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี โดยทึ่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ได้ย้ำบทบาทของยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ในฐานะ “จุดเชื่อมต่อ” (connector) ที่สามารถเชื่อมโยงและประสานความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการดำเนินความร่วมมือในอนุภูมิภาคด้วย
On 11 July 2025, H.E. Mr. Dusit Manapan, Advisor to the Minister of Foreign Affairs, attended the 13th Mekong-Republic of Korea (Mekong-ROK) Foreign Ministers’ Meeting on the sideline of the 58th ASEAN Foreign Ministers’ Meeting and other related meetings in Kuala Lumpur.
Member countries noted progress under the Mekong - RoK Plan of Action (2021 - 2025) and discussed the development of the next Plan of Action (2026 - 2030), while reaffirming their commitment to strengthening concrete cooperation to foster sustainable development in the Mekong sub-region. Thailand emphasised the importance of addressing pressing common challenges which include (1) Transnational Crimes, especially online scams; (2) Water Resources Management, including addressing contamination in the rivers; and (3) Transboundary Haze and Air Pollution.