World Economic Forum (WEF)
ข้อมูลโดยสังเขปของ WEF
-
WEF ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ (พ.ศ. ๒๕๑๔) โดย ศ.ดร. Klaus Schwab (ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Executive Chairman) และได้รับสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศในด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (International Organization for Public-Private Cooperation) จากรัฐบาลสหพันธรัฐสวิส
เมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (๒๕๕๘)
-
WEF มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเวทีโลกในเรื่องการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสนอแนะทิศทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาในระดับระหว่างประเทศ ผ่านเครือข่ายผู้นำภาคการเมือง ธุรกิจ และภาคประชาสังคม
-
การประชุมประจำปีของ WEF ณ เมืองดาวอส ถือเป็นเวทีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในระดับระหว่างประเทศ โดยที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งระดับผู้นำ ผู้บริหารระดับสูงจากภาคธุรกิจ องค์การระหว่างประเทศ และนักวิชาการจากทั่วโลก
-
นอกเหนือจากการประชุมประจำปีที่เมืองดาวอสในช่วงต้นปีแล้ว WEF ยังจัดการประชุมอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ การประชุมระดับภูมิภาค เช่น ASEAN ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง และการประชุม WEF’s Annual Meeting of the New Champions ณ เมืองต้าเหลียน / เทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการประชุมสำหรับผู้นำภาคธุรกิจที่โดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ
-
เมื่อปี ๒๕๖๐ WEF ได้ริเริ่มจัดการประชุม Sustainable Development Impact Summit ขึ้นเป็น ครั้งแรก ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ ก.ย. ๒๕๖๐ ในช่วงเดียวกับ High-level Week ของการประชุม UNGA
ณ นครนิวยอร์ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบรรลุ SDGs และพันธกรณีภายใต้ Paris Agreementผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อให้เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ครั้งที่ ๔ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๑๘ ก.ย. ๒๕๖๐ ที่นครนิวยอร์ค รมว.กต. (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้พบหารือกับนาย Philipp Rösler, Head of Regional and Government Engagement, Member of the Managing Board, WEF โดยได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและ WEF ในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชน/คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ และการส่งเสริม/พัฒนาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะบริษัท Startups โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ
-
ความร่วมมือระหว่างไทยและ WEF ที่ผ่านมา
-
การเข้าร่วมการประชุมประจำปีของ WEF ณ เมืองดาวอส
-
ปี ๒๕๕๒ (ค.ศ. ๒๐๐๙) – ๒๕๕๕ (ค.ศ. ๒๐๑๒) นรม. เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวติดต่อกัน ๔ ปี
-
ปี ๒๕๕๖ (ค.ศ. ๒๐๑๓) รอง นรม./ รมว. กค. เป็นผู้แทนเข้าร่วม
-
ปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕) รอง นรม. กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเป็นผู้แทนเข้าร่วม
-
ปี ๒๕๖๐ (ค.ศ. ๒๐๑๗) รมว. พณ. เป็นผู้แทนเข้าร่วม
-
ปี ๒๕๖๑ (ค.ศ. ๒๐๑๘) รมต. นร. (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) เป็นผู้แทนเข้าร่วม
-
บทบาทของไทยในการประชุม WEF on East Asia / WEF on ASEAN
-
ประเทศไทยได้รับเลือกจาก WEF ให้ร่วมจัดการประชุม WEF on East Asia ระหว่างวันที่
๓๐ พ.ค. – ๑ มิ.ย. ๒๕๕๕ ที่กรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อการประชุม “Shaping the Region’s Future through Connectivity” โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน ๖๓๐ คน และมีสื่อมวลชนเข้าร่วมกว่า ๓๐๐ คน มีผู้นำจาก ๕ ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ ปธน. อินโดนีเซีย นรม. เวียดนาม นรม. บาห์เรน นรม. ลาว และ นรม. ไทย นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนระดับ รมต. เข้าร่วม ๑๙ คน รวมทั้งบุคคลสำคัญและผู้นำองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ผอ. ใหญ่ WTOลธก. UNCTAD ลธก. อาเซียน นางอองซาน ซู จี (ผู้นำฝ่ายค้านเมียนมา ในขณะนั้น) และนาย Joseph E. Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล
-
เมื่อเดือน พ.ค. ๒๕๖๐ WEF ได้จัดการประชุม WEF on ASEAN รัฐบาลกัมพูชา โดยในส่วนของไทย มี รมว. คค. และ รมว. ดศ. เข้าร่วม
-
เวียดนามจะเป็นเจ้าภาพการประชุม WEF on ASEAN ประจำปี ๒๕๖๑ ระหว่างวันที่๑๑ – ๑๓ ก.ย. ๖๑ ณ กรุงฮานอย โดย WEF ได้เชิญผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐของไทยเข้าร่วม ได้แก่ (๑) นรม. (มอบ รอง นรม. สมคิดฯ) เข้าร่วมแทน (๒) รอง นรม. สมคิดฯ (มอบ รมว. อก. เข้าร่วมแทน) (๓) รมต. สนร. (นายกอบศักดิ์ฯ) (๔) รมว. กค. (๕) รมว. กต. (๖) รมว. คค. (๗) รมว. ดศ. (๘) รมว. พน. (๙) รมว. พณ. (๑๐) รมว. อก. และ (๑๑) รมว. กษ. โดย รอง นรม. และ รมว. ยธ. (พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง) และ รมช. อก. ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว
-
ในช่วงที่ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี 2562 รองนรม.ฯ (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้ขอให้ WEF พิจารณาจัดกิจกรรรมคู่ขนานในช่วงการประชุมสำคัญ สำหรับเป็นเวทีภาคธุรกิจเอกชนของอาเซียนได้เข้ามา engage กับภาครัฐในประเด็นที่มีการขับเคลื่อนในอาเซียน ฯลฯ
-
ผู้แทนภาครัฐของไทยใน Board ของ WEF
-
WEF ได้เชิญผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐไทยเข้าร่วม Board ของ WEF ดังนี้
-
รอง นรม. (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นสมาชิกใน ASEAN Regional Strategy Group (RSG) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของ WEF เพื่อวางกรอบยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคอาเซียน โดยเชิญผู้แทนระดับสูงจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาควิชาการจากประเทศสมาชิกอาเซียนรวม ๓๕ คนเข้าร่วม ซึ่งได้จัดประชุมขึ้นครั้งแรกในช่วงการประชุมประจำปี WEF ณ เมืองดาวอส ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ ม.ค. ๒๕๖๐ โดย รอง นรม. (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบหมายให้ รมว.พณ. (นางอภิรดี ตันตราภรณ์) เป็นผู้แทนเข้าร่วม
-
รมว. ดศ. (ดร.พิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์) เป็นสมาชิก Board of Governors for Digital ASEAN
ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารที่ทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการ Digital ASEAN เพื่อช่วยภูมิภาคอาเซียนพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลอย่างเป็นองค์รวมของภูมิภาค ทั้งในส่วนของการระบุประเด็นที่เป็นอุปสรรคของ
การสร้างการรวมตัวทางดิจิทัลในภูมิภาค และหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อชูศักยภาพที่โดดเด่นของภูมิภาคอาเซียนในการเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ ๔ ซึ่ง รมว.ดศ. ได้ตอบรับเข้าร่วมแล้ว
-
รมว. อก. (ดร.อุตตม สาวนายน) ได้รับการเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Future of Production Board of Stewards ซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ System Initiative on Shaping the Future of Production ที่มีหน้าที่ในการดูแลและคาดการณ์การเติบโตและการชะงักงันทางเศรษฐกิจเนื่องจากเทคโนโลยี และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มระดับนโยบายและกลุ่มธุรกิจเพื่อให้นโยบาย มีความเหมาะสมต่อการลงทุนในด้านนวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิต การฝึกอบรม และการศึกษา รวมทั้ง
สร้างโอกาสสำหรับการร่วมทุนของเอกชนในกิจการของรัฐ และส่งเสริมการมีบทบาทของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจาก Future of Production ทั้งนี้ รมว.อก. อยู่ในระหว่างการพิจารณาเข้าร่วม
-
รมว. พณ. (นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในคณะทำงานเฉพาะกิจ (taskforce) ของโครงการ Digital ASEAN เพื่อลดอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม รมว. พณ. ไม่ได้ตอบรับ
-
ประเด็นความร่วมมือ
-
ที่ผ่านมา โดยไทยได้ใช้เวที WEF ในการ (๑) ดำเนินยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเชิงรุกในการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยและส่งเสริมบทบาทของภูมิภาคเอเชียในการสร้างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (๒) กระชับความสัมพันธ์กับเครือข่ายทางด้านการค้า การลงทุนและสร้างพันธมิตรกับภาคธุรกิจ (๓) ชี้แจงทำความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนต่างชาติและ (๔) พบหารือกับผู้นำภาคเอกชนเพื่อเน้นย้ำถึง
ความเข้มแข็งของภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ/ อุตสาหกรรมที่ไทยเป็นผู้นำในตลาดโลก
-
รอง นรม. สมคิดฯ มอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนา
ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ร่วมมือกับ WEF เพื่อพัฒนาการจัดอันดับของไทยใน World Competitiveness Report โดย พณ. สศช. และ WEF ได้ร่วมกันจัด Competitiveness Workshop ใน ปทท. ในวันที่ ๒๐ พ.ย. ๒๕๖๐ ภายใต้หัวข้อ Competitiveness, 4th Industrial Revolution and Digital Economy เพื่อหารือถึงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชนไทย และเพื่อทำความเข้าใจต่อแนวทางใหม่ของ WEF ในการคำนวณและจัดทำ Competitiveness Report เพื่อประโยชน์
ในการปรับปรุงอันดับของประเทศไทย
-
รมต. นร. กอบศักดิ์ฯ ได้เดินทางไปเยือน สนง. ใหญ่ WEF ณ นครเจนีวา เมื่อ ๒๘ ก.พ. – ๓ มี.ค. ๒๕๖๑ เพื่อศึกษาดูงานและติดตามความร่วมมือเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือหลัก (Master Framework) ระหว่าง ปทท. – WEF เพื่อส่งเสริม
ความร่วมมืออย่างบูรณาการในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยในชั้นนี้ สศช. และ WEF อยู่ในระหว่างการเจรจาร่างกรอบความร่วมมือ
-
ภาคเอกชนไทยที่เป็นสมาชิก WEF
-
ปัจจุบัน บริษัทเอกชนไทย จำนวน ๑๑ ราย เป็นสมาชิกของ WEF ได้แก่ (๑) ปตท. (๒) ธนาคารกรุงเทพ (๓) ธนาคารกสิกรไทย (๔) ไทยเบฟเวอเรจ (๕) อมตะ (๖) เซ็นทรัลพัฒนา (๗) ช.การช่าง (๘) มิตรผล
(๙) ไอ.อาร์.พี.ซี. (๑๐) อินโดรามา และ (๑๑) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
*********************************
กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กันยายน ๒๕๖๑